![]() |
ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )
![]() ![]() |
![]() |
![]()
โพสต์
#1
|
|
Gold Member ![]() กลุ่ม : Moderator โพสต์ : 761 เป็นสมาชิกเมื่อ : 3-Jul-08 หมายเลขสมาชิก : 431 ![]() |
ควายป่า |
|
|
![]()
โพสต์
#2
|
|
Gold Member ![]() กลุ่ม : Moderator โพสต์ : 761 เป็นสมาชิกเมื่อ : 3-Jul-08 หมายเลขสมาชิก : 431 ![]() |
ควายป่า
ควายป่ามีรูปร่างคล้ายควายบ้าน แต่ตัวใหญ่กว่ามาก หนักได้ถึง 800-1,200 กิโลกรัมในขณะที่ควายบ้านมักหนักไม่ถึง 500 กิโลกรัม ลำตัวยาว 2.4-3 เมตร แข็งแรง มีวงเขากว้างได้ถึงกว่าสองเมตร กว้างที่สุดในบรรดาสัตว์จำพวกวัวควายทั้งหมด สีลำตัวดำ หรือเทาเข้ม ขาทั้งสี่สีขาวหรือสีเทาเหมือนใส่ถุงเท้า ที่หน้าอกมีเสี้ยวแบบพระจันทร์เสี้ยวสีขาวเหมือนใส่สร้อยคอ ควายป่ามีนิสัยดุร้าย แม้จะมีขนาดใหญ่โตแต่ก็ปราดเปรียวมาก ชอบอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ กินหญ้าและพืชในน้ำเป็นอาหาร หากินเวลาเช้าและเย็น เวลากลางวันจะนอนในพุ่มไม้ที่รกทึบ หรือนอนแช่ปลัก บางครั้งอาจมุดหายไปในปลักทั้งตัวโดยโผล่จมูกขึ้นมาเท่านั้น การแช่ปลักนอกจากช่วยระบายความร้อนแล้ว ยังช่วยกำจัดแมลงรบกวนตามผิวหนังได้อีกด้วย ปกติควายป่ามักชอบอยู่ที่ต่ำ แต่ในเนปาล ควายป่ามักพบในที่สูงถึง 2,800 เมตร ควายป่าอาศัยกันเป็นฝูงโดยมีสมาชิกในฝูงเป็นตัวเมียและควายเด็ก มีตัวเมียเป็นจ่าฝูง ส่วนควายหนุ่มที่ไม่ได้ร่วมฝูงตัวเมียก็หากินโดยลำพัง หรืออาจรวมกลุ่มกันเป็นฝูงควายหนุ่มราวสิบตัว ในฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยรวมฝูงกับตัวเมีย ควายหนุ่มจะมีการประลองกำลังกันเพื่อชิงสิทธิ์ในการครอบครองตัวเมีย แต่การต่อสู้นี้มักไม่ดุเดือดรุนแรงมากนัก เดิมควายป่ามีเขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตะวันออกของเนปาลและอินเดียมาจนถึง เวียดนาม ไปทางใต้จนถึงมาเลเซีย แต่ปัจจุบันพบได้เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ในอินเดียพบในอัสสัมและมัธยประเทศ ควายป่าในพื้นที่นี้อาจไม่มีสายเลือดควายป่าแท้หลงเหลืออยู่เลยก็ได้ เนื่องจากมีการผสมกับควายบ้าน ส่วนพวกที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติมานัสของภูฏานยังเป็นพันธุ์แท้อยู่ ในประเทศไทยคาดว่าเหลืออยู่เพียง 40-50 ตัวและพบได้ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเท่านั้น จำนวนประชากรทั่วโลกอาจเหลือไม่ถึง 200 ตัว ภัยคุกคามสำคัญที่สุดของควายป่าคือ การผสมข้ามพันธุ์กับควายบ้าน การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย การล่า และการติดโรคและปรสิตที่ติดต่อมาจากควายบ้าน ในฤดูฝน ควายป่าตัวผู้จะเริ่มเข้าฝูงตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ แต่ไม่ได้มาครอบครองฝูงหรือตัวเมียตัวใด ตัวเมียจะติดสัดเป็นเวลา 11 จนถึง 72 ชั่วโมง ควายตัวผู้จะตรวจสอบความพร้อมของตัวเมียด้วยการดมปัสสาวะและก้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้วตัวผู้จะถูกขับออกจากฝูง แม่ควายป่าตั้งท้องนาน 300-340 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกควายหย่านมได้เมื่ออายุ 6-9 เดือน พออายุได้ 18 เดือนก็เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ในธรรมชาติควายป่ามีอายุขัยประมาณ 25 แต่ในแหล่งเพาะเลี้ยงอาจอยู่ได้ถึง 29 ปี ชื่อไทย ควายป่า ชื่ออังกฤษ Wild Water Buffalo, Wild Asian Water Buffalo, Wild Asian Buffalo, Asiatic Buffalo, Indian Buffalo ชื่ออื่น Arni, Bufalo Arni, Buffle d'Eau, Buffle de l'Inde, Carabao, Water Buffalo) ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubalus bubalis (B. arnee) อาณาจักร Animalia ไฟลัม Chordata ชั้น Mammalia อันดับ Artiodactyla วงศ์ Bovidae สถานภาพการคุ้มครอง ไทย : สัตว์ป่าสงวน ไซเตส : บัญชีหมายเลข 3 สถานภาพประชากร ไอยูซีเอ็น : ใกล้สูญพันธุ์ ที่มา แฟ้มสัตว์โลก |
|
|
![]() ![]() |
![]() |
ไม่มีภาพประกอบ | IPB Thai v1.236.Fx1: 11th December 2019 - 17:42 |