![]() |
ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )
![]() ![]() |
![]() |
![]()
โพสต์
#1
|
|
...ฅนค้น..ใคร... ![]() กลุ่ม : Root Admin โพสต์ : 3,362 เป็นสมาชิกเมื่อ : 18-Sep-06 หมายเลขสมาชิก : 1 ![]() ![]() ![]() |
เส้นทางศึกษาธรรมชาติเราจะไม่เก็บอะไรออกมาจากป่า..นอกจากภาพถ่ายและความทรงจำ และเราจะไม่ทิ้งสิ่งใดๆไว้ในป่า...นอกจากรอยเท้า... ![]() ทุกวันนี้เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า เราโหยหา เรียกร้อง ปรารถนาที่จะเข้าไปสัมผัสธรรมชาติที่ร่มรื่น เขียวขจี ดังนั้นเมื่อมีโอกาสหลายคนจึงเลือกที่จะทิ้งเมืองใหญ่ในช่วงวันหยุดเพียงไม่กี่วัน เข้าป่าเพื่อเติมออกซิเจนให้ชุ่มปอด และเติมความสุขให้เต็มหัวใจ หรืออาจจะอยากเข้าไปเที่ยวป่าด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทั้งนั้น และหากเราเที่ยวไปด้วยได้เรียนรู้ป่า ธรรมชาติ สิ่งที่อยู่ในป่าไปด้วย นอกเหนือจากความสงบ ร่มรื่นแล้ว นับว่าเป็นโอกาสดีอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราเรียนรู้ เข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และอยากจะบอกว่า ทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติ...มีความมหัศจรรย์เสมอ ป่าจึงนับได้ว่าเป็นห้องสมุดธรรมชาติที่มีเรื่องราวให้ค้นหากันไม่รู้จบ ![]() ![]() โดยเฉพาะจังหวัดระนองเรา มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และถือเป็นมรดกทางธรรมชาติที่ล้ำค่าสำหรับชาวระนอง… ระนองมีทั้งน้ำตก ทะเล ป่าชายเลน ที่สมบูรณ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ หลายคนคงมีโอกาสได้ไปสัมผัสอยู่บ้างใช่มั๊ยค่ะ และคราวนี้ชมรมป่าสร้างฝันจะป่าท่านเข้าไปเที่ยวป่าผืนใหญ่ของระนอง ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ผืนหนึ่งของประเทศไทย นั่นก็คือ ป่าคลองนาคา… รู้จักเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา ![]() ที่ทำการเขตฯ มองจากมุมสูง ร่มรื่นไปด้วยธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา ตั้งอยู่ที่ ต.นาคา กิ่ง อ.สุขสำราญ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ได้จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 2 ของประเทศไทย โดยได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2515 มีเนื้อที่กว่า 150,000 ไร่ มีพื้นที่อยู่ในป่าตำบลบ้านนา ตำบลเชี่ยวเหลียง ตำบลกะเปอร์ ตำบลบางหิน ตำบลนาคา ตำบลกำพวน ท้องที่อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง พื้นที่ด้านทิศตะวันออกติดกับเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้านทิศใต้ติดกับเขตจังหวัดพังงา ที่นี่นับว่าเป็นผืนป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ผืนหนึ่งของประเทศไทย มีสัตว์ป่านานาชนิด มีพืชหายาก และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และเมื่อรวมกับผืนป่าจ.สุราษฎร์ธานี และ จ. พังงาแล้ว ก็นับว่าเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ของเขตภาคใต้ตอนบน ที่นับว่าเป็นมรดกทางธรรมชาติที่ล้ำค่ามากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ของประเทศไทย ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบน้อยมาก ระดับความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 300 ถึง 500 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ เขาหลังคาตึก ซึ่งมียอดสูงประมาณ 1,395 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นภูเขาที่แบ่งเขตจังหวัดระนองกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีออกจากกัน เนื่องจากมีเทือกเขาจำนวนมากจึงเป็นแหล่งกำเนิดลำคลองหลายสาย ได้แก่ คลองนาคา คลองบางมัน คลองชาคลี คลองแพรกซ้าย คลองแพรกขวา คลองเชี่ยวเหลียง คลองบางหิน คลองบางบอน และคลองกำพวน ซึ่งคลองเหล่านี้จะมีน้ำไหลตลอดปี ![]() หากเราเดินทางมาจากอำเภอเมือง จังหวัดระนองตามถนนเพชรเกษม เพื่อไปยัง จ.ภูเก็ต ก็จะผ่านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา ที่ ต.นาคา กิ่ง อ.สุขสำราญ ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นหุ่นนกเงือกตัวใหญ่อยู่ปากทางเข้า ไปไม่ยากค่ะ และที่นี่ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระนอง ทุกปีจะมีกิจกรรมทางการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง เช่น ค่ายเยาวชนอนุรักษ์ , เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ,ดูนก , แคมปิ้ง เป็นต้น เดินป่าศึกษาธรรมชาติ การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ก็เหมือนกับการเที่ยวป่า นอกจากเราจะเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่สวยงาม ร่มรื่นแล้ว เรายังสามารถได้รู้จัก และเรียนรู้กับธรรมชาติรอบๆตัวเราในป่าอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการเดินป่าได้มากขึ้น แต่ก่อนที่จะเดินป่าศึกษาธรรมชาติ เราก็คงจะต้องเตรียมตัวกันเล็กน้อย เพื่อที่จะทำให้เราเพลิดเพลินกับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม และยังไม่เป็นการรบกวนธรรมชาติอีกด้วย ไม่ยากค่ะ 1. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มิดชิด รัดกุม และสีของเสื้อผ้าต้องกลมกลืนกับธรรมชาติ 2. งดส่งเสียงดัง สัตว์ป่าส่วนใหญ่จะมีประสาทสัมผัสในการรับเสียงค่อนข้างดี การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันเพียงเบาๆ จะทำให้เราได้เห็นสัตว์ต่างๆ ได้ 3. ช่างสังเกต พยายามกวาดสายตามองรอบๆตัวเสมอ ตั้งแต่บนพื้นดิน พุ่มไม้ ขึ้นไปตามเรือนยอดชั้นต่างๆ ของต้นไม้ จะทำให้ท่านมีโอกาสพบพืชและสัตว์ ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน การใส่ใจในธรรมชาติจะทำให้ท่านพบสิ่งมีชีวิตที่สวยงาม น่าประทับใจ 4. ขยันจดบันทึกหรือวาดภาพที่น่าสนใจหรือสงสัยเก็บไว้เพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 5. รู้จักหยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อย ให้หยุดพักและสูดลมหายใจลึกๆ หรืออาจหยุดยืนหลับตานิ่งๆฟังเสียงธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ของป่าจะทำให้ท่านสดชื่นอย่างรวดเร็ว 6. ไม่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติระหว่างเดิน โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่เดินออกนอกเส้นทาง และไม่ทำลายธรรมชาติโดยการเก็บ เด็ดทำร้ายพืชและสัตว์ทุกชนิด เพียงง่ายๆ แค่นี้เราก็สามารถเดินป่าได้อย่างเพลิดเพลินและสนุกแล้ว เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าคลองนาคา ![]() ก่อนเดินทาง ต้องดูแผนที่ซะก่อน หากเราเตรียมตัวพร้อมทุกอย่างแล้ว ก็เดินเข้าสู่เส้นทางศึกษาธรรมชาติกันได้เลยค่ะ ที่นี่มีจุดเด่นที่น่าสนใจหลายอย่าง จะมีสถานีให้เราได้เรียนรู้ทั้งหมด 20 สถานี เช่น พูพอน , พืชดึกดำบรรพ์,โป่งอาหารเสริม , ต้นกำเนิดผืนป่า , เส้นผมผีพราย , ตายหมื่นเกิดแสน ,ค้างคาวดำ เป็นต้น ในการเดินก็ขึ้นเขาบ้าง ลงห้วยบ้าง แต่แฝงไปด้วยความสุข สนุก ประทับใจ กับบรรยากาศ และการชมนก ชมไม้ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่เป็นไกด์ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และความมหัศจรรย์ในผืนป่าแห่งนี้ให้เราได้รู้จักค่ะ... สถานีศึกษาธรรมชาติ 1 พูพอน...เมื่อไม้ใหญ่ปรับ ![]() จากภาพ โคนต้นจะมีพูพอนขนาดใหญ่ แผ่ขยายออกมาเพื่อพยุงลำต้น ทุกอย่างในธรรมชาติต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเช่นกัน ไม่ต่างกับมนุษย์ที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคม บางครั้งอาจทำได้ดีกว่าเราซะอีก เช่น ต้นไม้ เมื่อสูงใหญ่ขึ้น ก็จะมีปัญหาในการพยุงลำต้นเพื่อไม่ให้โค่นล้มได้ง่าย จึงต้องมีการพัฒนาบริเวณโคนต้นให้แข็งแรง เพื่อค้ำยันไม่ให้ล้ม โดยการแผ่ขยายเนื้อไม้และรากเป็นแผ่น เรียกว่า “พูพอน”( Buttress ) นอกจากทำหน้าที่สำคัญในการพยุงลำต้นแล้ว พูพอนยังทำหน้าที่ดักเก็บเศษซากพืชซากสัตว์บนผิวดินที่จะย่อยสลายกลายเป็นแร่ธาตุให้ กับต้นไม้ น่าอัศจรรย์มากใช่มั๊ยค่ะ ต้นไม้บางชนิดมีพูพอนสูงถึง 3 เมตร นับว่าเป็นตัวอย่างของการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดได้เป็นอย่างดี และทราบมั๊ยคะว่าพูพอนนี่เอง...ที่ชาวเมืองระนอง ในยุคแร่นองนำมาทำเป็นอุปกรณ์ในการร่อนแร่ เราเรียกกันว่า “เลียง" ![]() จากภาพ เด็กๆชาวค่ายกำลังฟังเจ้าหน้าที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของพูพอน พูพอน...ยังเป็นเรื่องเล่ากันมาของ “บ้านพรรั้ง” ต.บางริ้น อีกด้วย...ก็ขอเล่าให้ฟังสั้นๆนะคะ เดิมชื่อว่า บ้านพอนร้าง ที่ในอดีตมีคนไทยเชื้อสายจีนเข้ามาอยู่อาศัยประมาณ 5-6 ครัวเรือน ต่อมามีชาวจีนที่เรียกกันว่า อั้งยี่ ได้ออกปล้นชาวบ้าน จนต้องหนีไปหลบซ่อนที่โคนต้นไม้ซึ่งมีพอนไม้เป็นที่หลบซ่อน ต่อมาเมื่อมีการพัฒนา โจรผู้ร้ายไม่ชุกชุม จึงได้กลับมาอยู่ที่หมู่บ้านเดิม ไม่ต้องอาศัยหลบที่พอนไม้อีกแล้ว จึง เรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพอนร้าง และเพี้ยนเป็น พรรั้ง จนถึงปัจจุบันค่ะ(ข้อมูลจากหนังสือชื่อบ้านนามเมืองจังหวัดระนอง)... ...พูพอน เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตของต้นไม้ได้เป็นอย่างดี มนุษย์เราก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่นกัน... 2.นักบุญแห่งป่า...นักฆ่าเลือดเย็น ![]() นี่เป็นฉายาของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีความน่าทึ่งและมหัศจรรย์ในตัว นั่นก็คือ ไทร (Ficus spp) แล้วทำไมจึงได้รับฉายาเช่นนี้ ? ไปหาคำตอบกันค่ะ ในประเทศไทยมีไทรอยู่ประมาณ 90 ชนิด มะเดื่อ ต้นโพธิ์ ก็เป็นพืชตระกูลไทรเช่นกัน วิถีชีวิตของต้นไทรน่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่1 หลังจากที่นกซึ่งกินผลไม้เป็นอาหารถ่ายมูลทิ้งไว้ตามคาคบไม้ เมื่อมีความชื้น แสงแดดและอุณหภูมิที่เหมาะสม ก็จะเริ่มงอกและพัฒนาระบบรากลงสู่พื้น เมล็ดไทรที่จะงอกขึ้นมาได้ ต้องอาศัยกระบวนการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารของสัตว์ก่อนเท่านั้น เราจึงไม่พบว่ามีต้นไทรเล็กๆงอกตามพื้นดินบริเวณโคนต้นจากเมล็ดที่ร่วงหล่นเลย ระยะที่2 เมื่อต้นไทรโตขึ้น ออกดอกออกผล บริเวณต้นไทรจึงเต็มไปด้วยสัตว์กินพืชนานาชนิด เช่น กระรอก กระแต นกนานาชนิด โดยเฉพาะนกเงือกที่โปรดปรานผลไทรมากที่สุด จึงเปรียบต้นไทรยามนี้ว่า เป็นตลาดนัดบ้าง ซุปเปอร์มาเก็ตบ้าง เพราะมีสัตว์ต่างๆมาจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคับคั่ง ธรรมชาติแล้ว ไทร คือผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแม้แต่น้อย จึงเป็นที่มาของฉายาว่า “นักบุญแห่งป่า” ![]() ภาพประกอบจาก thaibirdpic.com นกกาฮังกำลังเพลิดเพลินกับผลไทร ระยะที่ 3 แหม! ใจดีซะขนาดนี้แล้ว ทำไมต้องเรียกว่า นักฆ่าเลือดเย็นด้วยล่ะ...อย่าลืมว่าไทรโตขึ้นมาจากการอาศัยอยู่บนต้นแม่(ต้นที่ไทรเ กาะ) เมื่อไทรโตขึ้นเรื่อยๆ ก็สร้างปัญหาให้กับต้นแม่ ที่ไม่ได้รับแสงแดดและถูกไทรโอบรัดเป็นเวลานานหลายปี ไม่สามารถเติบโตได้ ขาดน้ำขาดอาหาร ในที่สุดต้นแม่ก็จะตายลง ทำให้ไทรได้ฉายาว่า “นักฆ่าเลือดเย็น” อีกฉายาหนึ่งด้วย... นี่คือวงจรชีวิตที่น่าอัศจรรย์ของไทร หลังจากที่ต้นแม่ตายลง และผุพังไปไม่นาน ไทรก็จะได้รับผลกระทบเช่นกันเพราะไทรเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่แข็งแรงมากนัก เมื่อขาดโครงสร้างที่แข็งแกร่ง เมื่อมีลมพายุแรง ไทรก็จะโค่นล้มลง เป็นโอกาสให้ต้นไม้อื่นๆ ได้มีโอกาสรับแสงแดดเพื่อพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไป นั่นคือ วงจรชีวิตตามธรรมชาติค่ะ มีเกิดก็ต้องมีตายหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ไม่ต่างจากมนุษย์เรา เพราะเราเองก็มาจากธรรมชาติ...และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเช่นกัน และหากเราเดินป่า แต่ต้องเดินเงียบๆนะคะ แล้วผ่านต้นไทรช่วงที่ลูกไทรสุกแล้วละก้อ... คุณก็จะได้ตื่นตาตื่นใจกับสารพัดสัตว์ โดยเฉพาะนกนานาชนิดบนต้นไทร และหากโชคดี...ก็อาจจะเห็นนกเงือกตัวโตกำลังกินลูกไทรอยู่…เพราะเป็นผลไม้ที่มันโปรดปรานมากที่สุดเชียวล่ะ 3.หญ้าอะไรใหญ่ที่สุดในโลก ? ![]() จากภาพ... ไผ่เฉียงรุน เมื่อเทียบกับคน ขนาดจะใหญ่มาก เป็นไผ่หายากอีกชนิดหนึ่งที่พบในป่าคลองนาคา. คำตอบก็คือ ไผ่ ไงล่ะ อาจจะมีคนถามต่อว่า ไผ่น่ะหรือคือหญ้า ? ใช่แล้วค่ะ ไผ่ เป็นพืชตระกูลหญ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก หากเราลองจินตนาการดูดีๆ โดยมองแบบย่อส่วน กอไผ่ก็ไม่ต่างกับกอหญ้า คือมีลำต้นเป็นข้อ ปล้องแตกเป็นกอ ไผ่ขยายพันธุ์ได้โดยใช้หน่อและเมล็ด ในประเทศไทย พบไผ่กว่า 200 ชนิด ไผ่แต่ละกอจะมีอายุประมาณ 50 – 60 ปีและตลอดชีวิตของไผ่จะออกดอกออกผลเพียงแค่ครั้งเดียว เราเรียกว่า “ขุยไผ่” หลังจากนั้นไผ่ก็จะตาย โดยทิ้งขุยไผ่ซึ่งมีลักษณะคล้ายเมล็ดข้าวเปลือกไว้บนพื้นดินอย่างมากมาย สัตว์พวกไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกต่างๆก็จะมากินเป็นอาหาร แต่ขุยไผ่มีจำนวนมากส่วนที่เหลือจึงงอก เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป ไผ่แต่ละลำใช้เวลาเจริญเติบโตประมาณ 120 วัน แล้วจะหยุดการเจริญเติบโต ต้นไผ่ที่งอกจากเมล็ดในต้นแม่เดียวกันจะตายพร้อมกัน เวลาเราเดินป่าจึงมักจะพบต้นไผ่ตายพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ก็คงจะทราบแล้วใช่มั๊ยคะว่ามาจากแม่เดียวกันนั่นเอง มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากไผ่ได้มากมาย เช่น ใช้ลำไผ่มาทำที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ...และนอกจากนี้ใบไผ่และหน่อไม้ ก็ยังเป็นอาหารของสัตว์ป่าอีกมากมาย เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง ลิงต่างๆ รวมทั้งมนุษย์เรา อีกนั่นแหละที่มักจะคิดใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ มากกว่าให้ธรรมชาติ 4.บีโกเนีย…ทำไมใต้ใบต้องมีสีแดง ![]() ![]() ใต้ใบต้นบีโกเนีย เห็นสีแดงชัดเจน เวลาเดินป่า หากเราสังเกต ก็จะเห็นว่าในผืนป่ามีต้นไม้หลากหลายพันธุ์ ขึ้นอยู่หลากหลายที่ สูงบ้าง ต่ำบ้าง ไม่มีใครมาจัดวางต้นไม้แต่ละต้นเหมือนเราจัดสวน แต่ทุกสรรพสิ่งในป่าล้วนเป็นการสร้างสรรค์จากธรรมชาติ และทุกอย่างมีเหตุผลเสมอค่ะ ป่าระนอง เป็นป่าดิบชื้น เพราะฉะนั้นสังคมป่าบ้านเราจะหนาแน่น เบียดเสียดไปด้วยต้นไม้ เป็นป่าทึบ พืชในป่าจึงแก่งแย่งกันพุ่งขึ้นสู่หลังคาป่าเพื่อการรับแสงแดด ซึ่งเป็นพลังงานสำคัญในการปรุงอาหาร ดังนั้นในป่าดิบชื้นแบบนี้ แสงแดดที่ส่องลงถึงพื้นดินจึงน้อยมาก แล้วพืช หรือพันธุ์ไม้ที่อยู่ชั้นล่างสุดของป่า จะทำยังไงล่ะ ?... ไม่ยากค่ะ...เพราะในธรรมชาติทุกอย่างสามารถ ปรับตัวและเอาตัวรอดได้ เหมือนเรานั่นแหละ และมักจะทำได้ดีกว่า มนุษย์เราซะอีก... หากเราพิจารณาถึงคลื่นแสงที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหาร เราจะเห็นความยากลำบากของพืชคลุมดินมากยิ่งขึ้น เพราะคลื่นแสงที่พืชใช่ในการปรุงอาหาร คือคลื่นแสงสีแดง จากแสงแดด พันธุ์ไม้บางชนิดปรับตัวในการรับคลื่นแสงสีแดงจากแสงแดด โดย การพัฒนาใบให้ใหญ่เพื่อให้มีเนื้อที่ในการรับแสงได้มาก... บางชนิดมีใบสีเขียวเข้ม ซึ่งจะอัดแน่นไปด้วยคลอโรฟิลด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปรุงอาหาร... บีโกเนีย ก็เช่นกัน เป็นพืชคลุมดินที่อยู่ชั้นล่างสุดของผืนป่า แสงแดดส่องถึงน้อยเต็มที เพราะพืชด้านบนก็จะรับแสงแดดเอาไว้หมด ธรรมชาติจึงสร้างความมหัศจรรย์ให้บีโกเนีย โดยให้ใต้ใบของบีโกเนียมีสีแดง... เราก็อาจสงสัยว่า ทำไมต้องสีแดง สีอื่นไม่ได้หรือ? ![]() เหตุผลก็คือ จะทำให้บีโกเนียสามารถรีไซเคิล ( Recycle ) แสงสีแดงมาใช้ในการปรุงอาหารนั่นเอง เพราะเมื่อแสงสีแดงจากแสงแดดตกกระทบกับใบ ก็จะสะท้อนกับสีแดงใต้ใบ ทำให้สามารถนำแสงกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง... เพราะฉะนั้นสีแดงใต้ใบของบีโกเนีย มิได้มีไว้เพียงเพื่อความสวยงามในธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ใช้ในการปรับตัวเพื่อ ความอยู่รอดในผืนป่า น่ามหัศจรรย์จริงๆ ...ทุกอย่างในธรรมชาติล้วนมีเหตุผล และความน่ามหัศจรรย์ น่าศึกษาซ่อนอยู่ในทุกที่ เพียงแต่เราเปิดใจให้กว้าง ให้เวลากับธรรมชาติให้มากขึ้น แล้วเรา ...จะสามารถเรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติได้มากขึ้น.. ![]() ขอขอบคุณข้อมูลจาก ชมรมป่าสร้างฝัน จ.ระนอง ![]() ![]() ท่องเที่ยวจังหวัดระนอง |
|
|
![]() ![]() |
![]() |
ไม่มีภาพประกอบ | IPB Thai v1.236.Fx1: 1st March 2021 - 11:44 |