![]() |
ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )
![]() ![]() |
![]() |
![]()
โพสต์
#1
|
|
...ฅนค้น..ใคร... ![]() กลุ่ม : Root Admin โพสต์ : 3,362 เป็นสมาชิกเมื่อ : 18-Sep-06 หมายเลขสมาชิก : 1 ![]() ![]() ![]() |
พลับพลึงธาร แห่งคลองนาคา![]() เมื่อฤดูฝนผ่านไป...ย่างเข้าสู่ปลายฝน พลับพลึงธารในลำคลองนาคา ต.นาคา กิ่ง อ.สุขสำราญ ก็ออกดอกชูช่อสีขาวบานสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมไปทั่วท้องน้ำ เป็นความงดงามตามการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ เป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทุกคนได้ไปสัมผัสธรรมชาติที่นี่ และที่สำคัญเป็นพลับพลึงธาร เพียงแห่งเดียวที่ยังคงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติเอาไว้ได้ ท่ามกลางสถานะที่ใกล้จะสูญพันธุ์ของพลับพลึงธาร ![]() พลับพลึงธาร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หญ้าช้อง" พืชน้ำที่พบเฉพาะถิ่นในประเทศไทยที่ จ.ระนอง และพังงา ซึ่งจะออกดอกขาวสะพรั่งลอยอยู่เหนือใบเขียวที่พลิ้วไหวคล้ายริบบิ้นในน้ำใสสะอาด ชูช่อส่งกลิ่นหอมไปทั่วคุ้งน้ำในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเมื่อฤดูฝนผ่านไป ดอกพลับพลึงธารจะได้รับการผสมพันธุ์และติดผล แต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ข้างใน 2-4 เมล็ด เมื่อฤดูฝนกลับมาเยือนอีกครั้ง น้ำในคลองมากขึ้น ต้นใหม่ก็โตขึ้นมาก พร้อมเผชิญกระแสน้ำเชี่ยว ขณะเดียวกันหัวที่อยู่ใต้ดินซึ่งเป็นต้นแม่ก็งอกใบใหม่ ในที่สุดคลองนาคาก็ประดับประดาด้วยริบบิ้นสีเขียวพลิ้วไสว กระทั่งเข้าสู่ปลายฝน ดอกพลับพลึงธารสีขาวหอมกรุ่นก็กลับมาบานสะพรั่งไปทั่วลำน้ำวนเวียนอยู่เช่นนี้ ![]() พื้นที่ที่พลับพลึงธารจะขึ้นก็ต้องมีลักษณะเฉพาะพิเศษ คือต้องเป็นลำธารใสสะอาด เท่านั้นและพื้นใต้น้ำต้องเป็นดินปนทราย แสงแดดส่องถึงเพื่อให้รากหาอาหารได้ มีกรวดหินเพื่อไม่ให้ดินบริเวณที่รากเกาะยึดถูกน้ำพัดพาถอนรากถอนโคนไป แต่ในปัจจุบันพลับพลึงธารตกอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากมีการลักลอบขุดเอาไปขายในต่างประเทศปีละหลายๆ ตัน นอกจากนี้การทำลายป่าต้นน้ำยังทำให้สภาพพื้นที่เปลี่ยนไป เกิดตะกอนดินทับถมมากขึ้น ปิดทับต้นและหัวพลับพลึงธารจนงอกไม่ได้ ตะกอนที่แขวนลอยในน้ำยังเกาะอยู่ตามใบทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโต จนค่อยๆ ล้มตายลงไปก็มาก ![]() พลับพลึงธารคงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวคือ ที่คลองนาคาซึ่งชาวบ้านเห็นคุณค่า เกิดความรักความหวงแหน และร่วมกันอนุรักษ์เพื่อให้ ราชินีแห่งสายน้ำนี้ อยู่คู่กับคลองนาคา จ.ระนองตลอดไป สำหรับผู้ที่สนใจจะล่องแพชมความงามของพลับพลึงธาร สามารถมาท่องเที่ยวได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณชำนิ อุ่นขาว ประธานชมรมเพลินไพรศรีนาคา โทร.0-4192-6048 หรือคุณเสรี นาคบุญ ประธานชมรมป่าสร้างฝัน โทร.0-6740-4533 หรือองค์การบริหารส่วนตำบลนาคา จ.ระนอง 077 - 824154 ![]() ขอขอบคุณข้อมูลจาก ชมรมป่าสร้างฝัน จ.ระนอง ![]() ![]() ท่องเที่ยวจังหวัดระนอง |
|
|
![]()
โพสต์
#2
|
|
...ฅนค้น..ใคร... ![]() กลุ่ม : Root Admin โพสต์ : 3,362 เป็นสมาชิกเมื่อ : 18-Sep-06 หมายเลขสมาชิก : 1 ![]() ![]() ![]() |
พลับพลึงธารพลับพลึงธาร Crinum thaianum J. Schulze Amaryllidaceae ไม้ ล้มลุก อาศัยอยู่ใต้น้ำ รากลึก มีหัวใต้ดินเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 15 ซม. ใบออกเป็นวงรอบแทงขึ้นเหนือน้ำ รูปแถบ ยาว 2-3 ม. มีประมาณ 20 ใบ หรือมากกว่า สีเขียวอ่อน เนื้อใบเหนียวนุ่ม มีเส้นใบตามยาวจำนวนมาก ขอบใบจักซี่ฟันเล็กๆ ช่อดอกรูปซี่ร่ม กาบหุ้มช่อสีแดง ก้านช่อดอกอวบหนา ยาวได้ 80-100 ซม. สีเขียวแกมม่วง ดอกย่อยมี 5-8 ดอก บานทีละ 1-5 ดอก กลีบรวมติดกันเป็นหลอด สีขาวอมเขียว ยาว 12-14 ซม. ปลายแยกเป็น 6 แฉก รูปแถบหรือรูปใบหอก ยาว 8-10 ซม. สีขาว ก้านเกสรเพศผู้ 6 อัน เรียวยาวและแผ่กว้าง สีขาวถึงแดง ยาว 6-8 ซม. อับเรณูติดที่ฐาน สีเหลืองอ่อน ยาว 1.2-1.5 ซม. ก้านเกสรเพสเมียสั้นกว่าก้านเกสรเพศผู้ ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด เมล็ดบิดเบี้ยว เป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ 2.5 ซม. พลับพลึงธารเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอนบนแถบจังหวัดพังงา และระนอง พบทั่วไปตามลำธารที่น้ำใสสะอาด และมีน้ำไหลตลอดปี ความลึกไม่เกิน 2 เมตร Schulze (1972) กล่าวว่าพลับพลึงธารเป็น 1 ใน 4 ชนิดของสกุล Crinum ที่เป็นพืชน้ำ 2 ชนิด (Crinum aquaticum Burch. ex Spreng. & Crinum natans Baker) พบในแอฟริกาเขตร้อน และอีก 1 ชนิด (Crinum purpurascens Herb.) พบในบราซิลและเทือกเขาอินดีสตะวันออก พลับพลึงธารเป็นพืชที่ถูกลักลอบส่งออกไปต่างประเทศจำนวนมาก ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปมาก ทำให้ลำธารไม่สะอาดและตื้นเขิน พลับพลึงธารอาจเสี่ยงต่อการเผชิญกับการสูญพันธุ์ในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ชื่ออื่น หญ้าช้อง (ระนอง) ![]() ![]() ![]() ขอขอบคุณ ![]() |
|
|
![]() ![]() |
![]() |
ไม่มีภาพประกอบ | IPB Thai v1.236.Fx1: 1st March 2021 - 10:03 |