![]() |
ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )
![]() ![]() |
![]() |
![]()
โพสต์
#1
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
นับเป็นหลักการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพยอดฮิตวิธีหนึ่ง ซึ่งเรามักจะรู้จักกันในนาม rule of third นั่นเอง (เนื่องจากบรรดาตำราเกี่ยวกับการถ่ายภาพทั้งหลายมักจะแนะนำกัน รวมทั้งบรรดานักถ่ายภาพทั้งหลายมักจะนิยมนำหลักการถ่ายภาพแบบนี้ไปใช้กันนักหนา นั่นแหละ) หลักการดังกล่าว ก็คือ การใช้จุดตัดเก้าช่อง นั่นเอง กล่าวคือ โดยการแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน หลังจากนั้นจึง "กำหนดวางภาพ" ตรงจุดตัดนั้น (ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือ จะเป็นวางภาพในสัดส่วน "สองจากสาม" (2:3)นั่นเอง) "โดยนัยจริงๆ แล้ว rule of third นั้นก็เอามาจาก golden mean นั่นเอง" |
|
|
![]()
โพสต์
#2
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
ขอแซมเกร็ดย่อย ตี้สส์ นึง
![]() สัดส่วนการแสดงผลภาพแบบ Golden ratio นั้น ถือได้ว่า "เป็นสัดส่วนการมองเห็นที่ดีที่สุด" กล่าวคือ "เป็นสัดส่วนซึ่งจะส่งผลทางด้านจิตวิทยาการมองเห็น ต่อระบบประสาทการรับรู้ ต่อระบบประสาทสัมผัส ต่อความรู้สึก และ ที่สำคัญเป็นการมองเห็นที่ใกล้เคียงธรรมชาติการมองของมนุษย์ที่สุด ฯลฯ นั่นเอง" ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ ทิศทางการผลิต Panel แสดงผล รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอสื่อแบบต่างๆ จะมุ่งเน้นที่จะนำเสนอในผลิตภัณฑ์ซึ่งมีสัดส่วนแบบ Gloden ratio แทบทั้งสิ้น ดังเช่น Display Panel สำหรับ Computer ซึ่งมักจะได้รับการกำหนดในสัดส่วน 16:10 ส่วน Display Panel เพื่อการแสดงผลภาพสำหรับสื่อ Media โดยทั่วไป เช่น จอ LCD TV, HD-TV, จอ Plasma, หรือแม้แต่ จอ OLED ฯลฯ จะกำหนดผลิตกันในสัดส่วน 16:9 *ซึ่งทั้ง 2 สัดส่วนดังกล่าวนี้...ต่างก็ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนแบบ Gloden ratio เฉกเช่นกัน และ..นอกเหนือไปจากสัดส่วนซึ่งได้รับการจัดอยู่ในระดับ Golden ratio" ดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น ยังได้มีการการวิจัยฯ ในระดับลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปอีก จนได้ข้อสรุปว่า "สัดส่วนซึ่งได้รับการยอมรับว่า..เป็นสัดส่วนที่ดีที่สุด" ก็คือ สัดส่วน "1.618 : 1" นั่นเอง |
|
|
![]()
โพสต์
#3
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
(ร่ายยาว..ต่อ)
golden mean คือ สัดส่วน (ratio) 1:1.6180339.. 1.618 มาจากไหน? *เป็นตัวเลขมหัศจรรย์ ที่ถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยก่อน และทุกวันนี้ถูกใช้ในทุก ๆ สิ่งรอบตัวเราโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เป็นอะไรที่สมองของมนุษย์ตอบสนองดีเป็นพิเศษ อย่างเช่น มีการทดลองพบว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คนชอบมากที่สุด นั้น เป็นสัดส่วน 1:1.618 จากอนุกรม Fibonacci ( S[n] = S[n-1] + S[n-2] ) 0,1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,... เอา 3/2 = 1.5 5/3 = 1.667 ………. 55/34 = 1.6176 89/55 = 1.6182 จากนั้น ค่าจะลู่เข้า ค่า ๆ หนึ่ง เรียกว่า Phi = 1.6180339... (เป็นอีกค่าคงที่ เหมือนค่า Pi และ e ที่เรารู้จัก) หมายเหตุ. สัดส่วน 3:2 (ฟอร์แมตในกล้อง DSLR/DSLR Like น่ะแหละ) ซึ่งก็จัดอยู่ในอนุกรม Fibonacci เช่นกัน รวมทิป เทคนิคการถ่ายภาพ และเทคนิคการแต่งภาพ มากมายที่นี่ คุณ Eadkung_the_ADMIN ได้แก้ไขข้อความนี้ ครั้งล่าสุดเมื่อ May 23 2008, 13:08 |
|
|
![]()
โพสต์
#4
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
จากรูป :
ขนาดสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน จะมีขนาดเท่ากับ 1:1.618 ของสี่เหลี่ยมใหญ่
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#5
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
ภาพตัวอย่าง : แบบ Golden Section
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#6
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
เปรียบเทียบ 1.618:1 กับ 3:2 :
*ใช้หลักการแบ่งเป็นสัดส่วนสี่เหลี่ยมคล้ายๆ กับการจะเป็นการเปลี่ยน golden section เป็น rule of third
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#7
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
Golden Spiral :
โดยแบ่งภาพทีละ 1:1.618 ของด้านยาว...แล้วลากจุดตัด เป็นเส้นโค้ง
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#8
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
ตัวอย่างภาพแบบ Golden Spiral
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#9
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
Golden Triangle
จะเห็นได้ว่า การกำหนดได้ด้วยการลางเส้นทะแยงมุมไป และลากเส้นอีกเส้นหนึ่งจากด้านด้านตรงกันข้ามให้มาตั้งฉากกับเส้นทะแยงมุมดังกล่าว ณ จุดสัมผัส นั้น ก็คือ ตำแหน่งที่เราจะวาง object หลักที่ต้องการลงไปนั่นเอง หมายเหตุ : นอกเหนือจากกรอบสี่เหลี่ยม 1.618:1 แล้ว กรอบ 3:2 ก็สามารถกำหนดใช้ Golden Triangle ได้เฉกเช่นเดียวกัน ปล. สามารถปรับเปลี่ยน "จุดสัมผัส" ได้ทั้งแนวตั้ง/แนวนอน, ซ้าย/ขวา, บน/ล่าง (ทั้งนี้ทั้งนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับรูปแบบของภาพที่เราต้องการ ฯลฯ นั่นเอง)
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#10
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
ภาพตัวอย่าง ...แบบ Golden Triangle
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#11
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
ภาพตัวอย่าง 2...แบบ Golden Triangle
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#12
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
นอกเหนือจาก "รูปแบบการจัดวางองค์ประกอบภาพ" ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ก็จะยังจะมีรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบแบบอื่น ๆ อีกหลายแบบด้วยกัน
ที่พอจะจำจำได้ลางๆ (ก็..ตั้งกะสมัยเรียนนู้นแน่ะ ![]() Rule of Third from Golden Triangle (หรือ Golden Triangle > Rule of Third นั่นเอง) กล่าวคือ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Rule of Third (การแบ่ง 9 ส่วน)..อันมาจาก Golden Triangle นั่นเอง อธิบายความได้ว่า : เป็นการกำหนด "จุดวางภาพ" อีกรูปแบบหนึ่ง...ซึ่งมีวิธีการกำหนด ดังนี้ อ้างอิงจากกรอบ 2:3 : ลากเส้นทะแยงมุมไปหามุมตรงกันข้ามให้ครบทั้ง 4 มุม จากแต่ละมุม...ให้เราลากเส้นตรงลงมาให้ตั้งฉากกันเส้นทะแยงมุมข้างหน้า ซึ่งจะเกิด "จุดสัมผัสบนเส้นทะแยงมุม 4 จุดด้วยกัน" กล่าวคือ หากเราลากเส้นประจาก "จุดสัมผัสบนเส้นทะแยงมุม" แต่ละจุดไปยังจุดสัมผัสบนเส้นทะแยงมุมด้านตรงกันข้าม ก็จะเกิด "จุดตัดขึ้นมา 4 จุด"ด้วยกัน และ ขณะเดียวกันก็จะเป็นการแบ่งกรอบออกเป็น 9 ส่วนด้วยกัน ปล. จากภาพ : เส้น/องศา/จุดแบ่ง ฯลฯ อาจจะจะไม่ค่อยตรงเปะๆ นักหรอกนะ ทั้งนี้ลากเส้นปื้ดๆ โดยการกะเอาด้วยสายตาเท่านั้นเอง ![]()
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#13
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
เมื่อเปรียบเทียบกับ...การจัดรูปแบบ กฎสามส่วนแบบมาตรฐาน (Rule of third)
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ลักษณะของ "Rule of Third from Golden Triangle" เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ "Rule of Third" จะเห็นว่า "จุดตัด" อันเกิดจากแบบ Golden Triangle จะมี "กรอบจุดตัด" ที่มีขนาดกว้างกว่า "Rule of Third"(ปกติ)
รูปที่แนบมาด้วย
![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#14
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
คลับคล้าย คลับคลาว่า ยังมีรูปแบบการจัดวางองค์ประกอบภาพอยู่อีกซักอีกรูปแบบนึง น้าาาๆๆๆๆ...
ใช่แล้ว!!! นั่น ก็คือ..."จุดตัด 16 ช่อง" นั่นเอง กล่าวคือ เป็นการแบ่งภาพออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน ทั้งแนวตั้ง และ แนวนอน...ซึ่งก็จะได้จุดตัดทั้งหมด 9 จุดด้วยกัน "แต่เราจะไม่นิยมใช้จุดตรงกลาง" ดังนั้น จึงเหลือเพียงจุดให้เราเลือกวางจุดเด่นลงไปที่ 1 ใน 8 จุดนั้นเท่านั้น ปล. การจัดวางฯ ในลักษณะนี้มักจะเป็นที่นิยมกันในหมู่บรรดาโปรฯ ทั้งหลาย ................. *อิ อิ...ขี้เกียจวาดรูปประกอบแล้วอ่ะ... เชื่อว่าทุก ๆ ท่านคงจะนึกภาพออกได้ไม่ยาก เน่อ |
|
|
![]()
โพสต์
#15
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพที่ได้รวบรวมไว้เล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่ได้รวบรวมจากจากหนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพ และ จากเว็บไซต์นำแนะเกี่ยวกับการถ่ายภาพทั้งไทย/เทศ รวมทั้งที่พอจะจดจำได้อยู่บ้างนิดๆ หน่อยๆ ตั้งกะสมัยที่ได้เคยลงเรียนวิชาการถ่ายภาพปู้นนนน
![]() ที่นำมาแปะๆ ไว้นี้ ถือซะว่า "เป็นการนำมาฝาก" ล่ะกันเนอะ หาได้มีเจตนานเป็นการนำมาสอนกันหรอกนะจ๊ะ เผื่อว่า..ท่านใดที่ยังไม่ทราบแว่บๆ ผ่านเข้ามาในบอร์ดนี้แล้วเกิดสนใจขึ้นมาจะได้นำไปศึกษา และทดลองใช้ดู รวมทั้งอาจจะเป็นการช่วยกระตุ้น/รื้อฟื้น องค์ความรู้ในเรื่องนี้สำหรับกับอีกหลายๆ ท่านซึ่งได้ศึกษามาอย่างกระจ่างแจ้งในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว...แต่ชักจะเลือนๆ ไปบ้างแล้ว ![]() ปล. หากใคร่อยากจะถ่ายภาพให้ดูดี ถูกต้อง มีมาตรฐาน ฯลฯ แนะนำว่า...ให้เข้าไปศึกษารูปแบบ และดูตัวอย่างการถ่ายภาพได้จากเว็บเหล่านี้ได้เน่อ เช่น... http://www.nationalgeographic.com]http://www.nationalgeographic.com http://www.Dark Roasted Blend.com ............ องค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพเบื้องต้น/พื้นฐานเหล่านี้ เคิดว่าบรรดาสมาชิกในนี้ก็คงจะรู้ และมีความชำนาญกันดีอยู่แล้ว..เป็นแน่แท้ นิ *พิมพ์ไปโพสต์ไป " มึนตึ๊บ" เลย ![]() ว่างๆ ก่อนเน่อ...จะแว่บเข้ามาเสริมเนื้อหา(หรือ ขัดเกลาเนื้อหา)อีกซักเล็กน้อย ตอนนี้สมองชักจะเบลอๆ แล้ว...ขอแว่บออกไปก่อน เด้อ ![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#16
|
|
Platinum Member ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 1,670 เป็นสมาชิกเมื่อ : 30-Mar-07 จาก : Suratthani หมายเลขสมาชิก : 19 ![]() |
ตามอ่านอยู่ ก็มึนตึบเหมือนกันครับ อิอิ
เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง(โดยเฉพาะแถว ๆ เลขอนุกรมครับ) แต่ก็พยายามศึกษาครับ ขอบคุณครับที่นำความรู้มาฝาก รอติดตามตอนต่อไปอยู่นะครับ |
|
|
![]()
โพสต์
#17
|
|
...ฅนค้น..ใคร... ![]() กลุ่ม : Root Admin โพสต์ : 3,362 เป็นสมาชิกเมื่อ : 18-Sep-06 หมายเลขสมาชิก : 1 ![]() ![]() ![]() |
ล้ำลึกมากครับ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ถ่องแท้ รับรองว่าจะสามารถจัดองค์ประกอบภาพที่สวยงามได้ดีเลยครับ
อีกตัวอย่างของภาพที่ใช้หลักการจัดองประกอบแบบ Golden Mean ![]() ภาพจาก: http://www.coastal-style.com/mona-lisa.html |
|
|
![]()
โพสต์
#18
|
|
Silver Member ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 321 เป็นสมาชิกเมื่อ : 15-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 272 ![]() |
แว่บ..เข้าเพิ่มเติมนี้สส์ นึง...
ยังมีหลักการจัดองค์ประกอบภาพอีกมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน หากผู้ได๋สนใจ หรือต้องการที่จะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพแบบ Golden Mean เพิ่มเติม ขอแนะให้ลองเข้าไปศึกษาได้จากที่นี่ได้ เน่อ... http://www.morguefile.com/archive/classroom.php?lesson=1&MORGUEFILE=ptgo9apjm639pgsmlf1cghoc77 http://www.artlex.com/ArtLex/g/goldenmean.html http://en.wikipedia.org/wiki/Golden_ratio หรือว่า "หากต้องการที่จะศึกษา หรือต้องการดูตัวอย่างภาพถ่ายที่ดูดี มีมาตรฐาน" แล้วล่ะก็ แนะนำให้ไปศึกษาได้จากที่นี่..ก็ได้ http://photography.nationalgeographic.com/photography/index.html (อิ อิ..อันนี้ ผมอาศัยแอบก็อบมุมมองของเค้าตั้งแต่สมัยลงทะเบียนเรียนวิชาการถ่ายภาพแล้วนิ ![]() หรือ ที่นี่ก็ได้... http://www.dcmag.co.uk/ ออ! ขอแนะหนังสืออีกเล่มนึงซึ่งสอนเรื่องการถ่ายภาพระดับโปรฯ(ชั้นสูง) คือ Absolute Photography ไม่รู้ว่าตอนนี้จะยังมีขายอยู่อีกหรือไม่นะ?... ราคาเมื่อปี 2531 เล่มละ 250 บาท ณ ตอนนั้นกับนักศึกษาบ้านนอกไส้กรอบคนหนึ่ง...ถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างแพงมากกกกๆๆๆท ีเดียว...นานๆ จึงจะกัดฟันซื้อซักเล่มนึงที่สนใจจริงๆเท่านั้น (แต่...อิ อิ..ไปแอบยืนอ่านซะทุกเล่มแหละ ![]() ![]() |
|
|
![]()
โพสต์
#19
|
|
Platinum Member ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 1,670 เป็นสมาชิกเมื่อ : 30-Mar-07 จาก : Suratthani หมายเลขสมาชิก : 19 ![]() |
ตามไปดูมาแล้วครับ ยิ่งมึนเข้าไปอีก เพราะอ่านไม่ออกซักตัวไม่มีภาษาบ้านเราซักตัวนึง อ่านมั่ว ๆ ดูรูปเป็นหลัก อิอิ
|
|
|
![]()
โพสต์
#20
|
|
Platinum Member ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() กลุ่ม : Members โพสต์ : 1,261 เป็นสมาชิกเมื่อ : 4-Mar-08 หมายเลขสมาชิก : 246 ![]() |
บอกได้คำเดียวว่าสุดยอดครับท่านอาจารย์ ข้าน้อยขอฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยสักคน
|
|
|
![]() ![]() |
![]() |
ไม่มีภาพประกอบ | IPB Thai v1.236.Fx1: 23rd January 2021 - 23:31 |